การขออนุญาตเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ
13 กันยายน 2565
1527
0
4
Post Content Image
เรื่องต้องรู้...เกี่ยวกับการขออนุญาตเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ "การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2" เจ้าของตู้ต้องแจ้งกับท้องถิ่นก่อน เช่น อบต. เทศบาล แล้วแต่ว่าเราอยู่ในเขตไหน ?? ซึ่งหลักๆ ของการขออนุญาตการเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ มีดังนี้
1. ตู้น้ำมันหยอดเหรียญถือเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง โดยจะต้องออกแบบให้มีมาตรฐานความปลอดภัยดังต่อไปนี้
1.1 ลักษณะ ระยะความปลอดภัย และอุปกรณ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในหมวด 5 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง แห่งกฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552
1.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบริเวณอันตรายของตู้น้ำมันหยอดเหรียญจะต้องได้รับหนังสือรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน หรือได้รับการรับรองจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานีบริการน้ำมัน
2. ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการ จะต้องแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ตามแนบ ธพ.ป.1) ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพื้นที่นั้นๆ เช่น อบต. เทศบาล
3. ผู้ประกอบการ ต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน (ตามมาตรา 11) แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานพลังงานจังหวัด
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552
กฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. 2556
กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556
ตรวจสอบรายชื่อตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ที่ได้รับการรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน ทาง www.doeb.go.th
การออกหนังสือรับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตราย ประเภท ตู้น้ำมันหยอดเหรียญที่ได้รับการรับรองหลังปี พ.ศ. 2561 รับรองโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานและพิจารณาการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายของสถานประกอบการ
R
ELATED NEWS
ข่าวที่น่าสนใจ
Hover Icon
6 มีนาคม 2567
14
ประกาศเจตนารมณ์ “สุจริต โปร่งใส จังหวัดกระบี่ใสสะอาด ๒๕๖๗”

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพลังงานจังหวัดกระบี่ พร้อมใจปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้ และดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่รับของขวัญของกำนัล และไม่เรียกรับผลประโยชน์ทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่

Hover Icon
11 มีนาคม 2567
15
กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) จับมือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) แก้ปัญหาถังก๊าซหุงต้มเพื่อประโยชน์ต่อภาคประชาชน

วันนี้ (8 มีนาคม 2567) นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า หนึ่งในมาตรการสำคัญในการแก้ไขปัญหาถังก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนเพื่อประโยชน์ต่อภาคประชาชน คือการผสานความร่วมมือภาครัฐ เพื่อการปกป้องสิทธิผู้บริโภค กรมธุรกิจพลังงานจึงได้จับมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาถังก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน มุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ถังก๊าซหุงต้ม และคุ้มครองประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจร้านจำหน่ายก๊าซหุงต้ม โดยมี นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และนายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงาน

Hover Icon
11 มีนาคม 2567
15
ข้อควรรู้ การใช้ถังก๊าซหุงต้มอย่างปลอดภัย

ข้อควรรู้ การใช้ถังก๊าซหุงต้มอย่างปลอดภัย - หมั่นตรวจสอบวาล์วและสายนำก๊าซเป็นประจำโดย ใช้น้ำสบู่ลูบตามส่วนต่างๆ - สายนำก๊าซเป็นชนิดใช้กับก๊าซหุงต้มโดยเฉพาะ ไม่มีลักษณะกรอบหรือแตกร้าว - ตรวจสอบถัง ต้องไม่หมดอายุ ก่อนการใช้งานครั้งแรก - เลือกใช้ถังได้มาตรฐาน มีเครื่องหมาย มอก. ถังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ วางถังก๊าซหุงต้มไว้ในที่ปลอดภัย พื้นเรียบ บริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก